วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงการในพระราชดำริ

โครงการตามรอยพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
เทศบาลตำบลป่าไผ่มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เป็นแหล่งเรียนรู้ ในชุมชนทางการเกษตรพอเพียงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพึ่งตนเอง
2. เพื่อเป็นแนวทางให้เกษตรกรได้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม
3. เพื่อเป็นการรณรงค์ให้เกษตรกรและคนในชุมชนช่วยกันอนุรักษ์ หวงแหน ภูมิปัญญา อาชีพทาง
การเกษตร และช่วยกันรักษาระบบนิเวศให้สมดุลต่อไป
สรุปกิจกรรมดำเนินงาน (กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสดิก)
แนวความคิด
จากเดิมเกษตรกรส่วนใหญ่มักเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินขนาดใหญ่ต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งการขุด
บ่อดินและค่าอาหารปลาต่อเดือนเป็นเงินหลายพันบาท หากเลี้ยงในบ่อปูนซีเมนต์ก็จะเจอปัญหา
ปลาดุกเจริญเติบโตช้ากว่าปกติและมักจะประสบปัญหากลิ่นเหม็นจากบ่อจนทำให้เกษตรกรหลาย
รายหมดกำลังใจที่จะเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติกจึงเป็นแนวทางตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่เกษตรกร
ควรปฏิบัติตามหลักนี้เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ขั้นตอนการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก
1. หาพื้นที่ว่างที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาดุก
2. วัดขนวนความต้องการของบ่อ ถ้าดีประมาณ 4 X2 เมตร
3. ขุดปลาด้วยตนเอง ซึ่งต้องแบ่งเป็น 2 ชั้น
4. เตรียมผ้าพลาสติกขนาดความกว้างxยาว 3x5 เมตร
5. ตกแต่งขอบบ่อปลาและปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ
6. ปล่อยลูกปลาดุก บ่อขนวน 4x2 ปล่อยปลาดุกได้ประมาณ 300 – 500 ตัว ต่อบ่อ
ข้อแนะนำ
ควรเลี้ยงปลาดุกไว้ 3 บ่อๆ ละประมาณ 300 ตัว ตัวอย่างเช่น เดือน มกราคม เราเลี้ยง 1 บ่อ
พอถึงเดือน กุมภาพันธ์ เราก็เลี้ยงอีก 1 บ่อเป็นบ่อที่ 2 และในเดือนมีนาคม เราก็เลี้ยงอีก 1 บ่อ เป็น
บ่อที่ 3 ครบ 3 บ่อ3 เดือน เราก็นำปลาในบ่อที่ 1 ออกขาย และนำเงินที่ขายได้ซื้อลูกปลามาปล่อยใน
บ่อที่ 1 ได้อีก เป็นการเลี้ยงปลาแบบพอเพียง ที่สำคัญเอาไว้รับประทานก่อนนะครับเหลือค่อยขาย
ราคาลูกปลา 1 ตัว ขึ้นอยู่ขนานการโตของปลา มีตั้งแต่ ตัวละ1 บาทถึง 1.50 บาท
อาหารปลาดุก เดือนแรกควรให้อาหารปลาเล็กก่อน เดือนที่ 2 ก็หาปลวกหรือ หาหนอน
จุลินทรีย์ (ได้จากหมักเศษพืชและสัตว์) สลับกับการให้อาหารเม็ด เพื่อประหยัดเรื่องต้นทุนทาง
อาหาร
ราคาต้นทุนต่อ 1 บ่อ
1. ค่าพลาสติกความหนา 100 ไมคอน หน้ากว้าง 3 เมตร ยาว 5 เมตร
1 เมตร ราคา 85 บาท รวม 5 เมตร 425 บาท
2. ค่าพันธุ์ปลาดุก 1 ตัว ๆ ละ 1.50 บาท
300 ตัว 450 บาท
3. ค่าอาหารปลาดุก 1 กระสอบ 450 บาท (ถ้าเป็นหนอนจุลินทรีย์หรือปลวกต้นทุนก็จะ
ลดลงกว่าครึ่ง)
รวมราคาต้นทุนต่อ 1 บ่อ ประมาณ 1,325 บาท
ถ้าเราเลี้ยงปลาดุกให้มีน้ำหนักอยู่ที่ 3 – 4 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม จะได้กิโลกรัมละ 40 บาท
(โดยประมาณ) และถ้าปลาดุกเราเลี้ยง 300 ตัว อัตราการลดอยู่ที่ประมาณ 250 ตัว (ความเสี่ยงขึ้นอยู่
กับสภาพภูมิอากาศและระยะทางการขนส่ง) จะได้ประมาณ 80 กิโลกรัม เราก็จะขายได้ 3,200 บาท
เอามาลบกับจำนวนต้นทุน 1,325 บาท เราจะได้กำไรประมาณ 1,875 บาท/ 1 บ่อ / 1 เดือน
ข้อดี ข้อเสีย
1. ประหยัดเนื้อที่ในการเลี้ยง
2. บริเวณขอบบ่อสามารถปลูกพืชผักสวน
ครัวไว้รับประทานได้
3. อัตราการเจริญเติบโตดีกว่าบ่อซีเมนต์
4. สะดวกต่อการย้ายที่
5. พลาสติกไม่คงทนเหมือนบ่อซีเมนต์ มัก
เกิดรอยรั่วจากถูกรากไม้หรือของแหลม
กิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัว
ปลูกผักพื้นบ้านผักชะอม, ผักหวานบ้าน
ขึ้นร่อง เตรียมดินปลูกผักอินทรีย์
พืชผักอินทรีย์ที่ปลูก
ปลูกผักพื้นบ้านรอบบ่อปลาดุก
กิจกรรมการจัดการขยะอินทรีย์
แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1 จัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนตามชุมชน
เศษอาหาร ร่วมไปถึงเศษใบไม้ให้นำมาเทลงในบ่อซีเมนต์แล้วนำน้ำหมักชีวภาพจากทาง
เทศบาล เทราด รดลงในบ่ออีกครั้งเพื่อช่วยดับกลิ่นและย่อยสลาย
รูปแบบที่ 2 จัดการขยะอินทรีย์ในเทศบาล
เศษใบไม้และเศษวัสดุธรรมชาติที่ทางเทศบาลเก็บจากชุมชนก็นำมาจัดการ
โดยการนำลงหลุมหมักขยะอินทรีย์
ที่มาhttp://www.watmanchester.org/papaichiangmai/imf_files/1521jobpapai.pdf







โครงการศึกษาประเมินศักยภาพและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
เพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
1. ความเป็นมาและปัญหา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยในพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะเกษตรกรในชนบทที่ยากไร้รวมทั้งชาวเขาเผ่าต่างๆราษฎรเหล่านี้ ขาดแคลนที่ทํากินขาดแหล่งน้ำและขาดความรู้ในการเกษตรกรรมที่ดีพอจึงทําให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหา ความยากจนของตัวเองได้ ี่พระองค์เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรหรือได้สดับรับฟังปัญหาก็มักทรงมีพระราชดําริให้การช่วยเหลืออยู่เสมอมาจนเกิดเป็น โครงการในพระราชดําริ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ และโครงการหลวง ต่างๆ มากมายกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
โครงการหลวงเกิดขึ้นจากการเสด็จเยี่ยมราษฎรชาวเขาในภาคเหนือทรง
ทราบถึงปัญหาการตัดไม้ทําลายป่า เผาถ่านทําไร่เลื่อนลอยมีการปลูกข้าวไร่ไว้กินและมีการปลูกฝิ่นไว้ขาย เนื่องจากที่บนเขามีความ ลาดชัน หน้าดินถูกชะล้างโดยง่ายทําให้ดินเสื่อมโทรม ชาวเขาจึงมักย้าย ที่เพาะปลูกโดยการรุกที่ป่าเข้าไป เรื่อยๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดําริให้พัฒนาอาชีพของชาวเขาจากการปลูกฝิ่นเป็นการ ปลูกพืชทดแทนอย่างอื่น เช่น ท้อ โดยจัดตั้งโครงการหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 เพื่อช่วยเหลือดูแลการพัฒนา ตลอดจนรับซื้อผลผลิตต่อมาจึงได้ มีการวิจัยโดยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อนําพืชผักและไม้ดอก จากเมืองหนาว ต่างประเทศมาทดลองปลูกมากมายหลายชนิดและมี การพัฒนาเพิ่มในที่ต่างๆ ถึง 37 ศูนย์ใน 5 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ในปี พ.ศ. 2546 เกษตรกรในพื้นที่ พัฒนาโครงการหลวงมีรายได้จาก การขาย ผลผลิตรวมกันเกือบ 300 ล้านบาท นอกจากการพัฒนาอาชีพและสังคมแล้ว โครงการหลวงยังมีบทบาทสําคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนต้นน้ำลําธารอีกด้วย
โครงการพระราชดำริ จํานวนมากที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นการพัฒนาแบบ ผสมผสานเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ ของราษฎรในชนบท และยังเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการพัฒนาทาง เกษตรกรรมให้แก่นิสิตนักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป โครงการพระราชดําริบางโครงการเป็นการวิจัย พัฒนาสิ่งประดิษฐ์; ที่เกิดจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่น กังหันน้ำมูลนิธิชัยพัฒนา การแกล้งดินเพื่อแก้ดินเปรี้ยว การปลูกหญ้าแฝกเพื่อ รักษาหน้าดิน โครงการแก้มลิงหรือการทําเกษตร อย่างพอเพียง ฯลฯ
โครงการพัฒนาส่วนพระองค์เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวที่ทรงใช้ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดให้มีโครงการพัฒนาบนพื้นที่ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นการพัฒนาด้านเกษตรกรรมตามแนวทาง เกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้ง เพื่อให้เป็นสถานที่ ทดลอง ค้นคว้า ศึกษา อบรมให้แก่ เกษตรกร และนิสิตนักศึกษาในด้านการพัฒนาสร้าง รูปแบบการประกอบอาชีพของชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกษตรกร ในพื้นที่ใกล้เคียงและ ผู้สนใจได้ นําไปถือปฏิบัติเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรและเกษตรกรที่ยากจนให้มีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นหน่วยงานด้านวิชาการและปฏิบัติที่มีภารกิจในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย บริหารจัดการ ควบคุมดู แล อนุรักษ์ ฟื้นฟู และทรัพยากรน้ำบาดาล ได้รับการติดต่อประสานงานจาก สํานักงานจั ดการทรัพย์ สินส่ วนพระองค์ ให้สนับสนุนการพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับกิจกรรมต่ างๆ ของ โครงการในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อย่างต่อเนื่องกันมา และกรมทรัพยากรน้ำบาดาลก็ได้ ใช้ หลักวิชาการในการพัฒนาน้ำบาดาล ได้แก่ การศึกษาประเมินศักยภาพ พัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ตลอดจน สร้างเครือข่ายติดตามเผ้าระวังผลกระทบที่อาจติดตามมาจากการใช้ น้ำนอกจากนี้ แล้ว ยังใช้เป็นต้นแบบ สําหรับการพัฒนาน้ำบาดาลของพื้ นที่ใกล้เคียงที่ มี สภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน ที่จะนําแนวทางไป พัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อกิจกรรมทางการเกษตรตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ต่อไป
ในปีงบประมาณ 2549 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลมีเป้าหมายที่จะดําเนินพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อ สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ในพื้นที่ 5 โครงการ ซึ่งได้มีการสํารวจเบื้องต้นและเห็นว่ามี ความต้องการน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และเพื่อกิจกรรมของโครงการเหล่านั้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับการอุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตรกรรมให้ แก่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริ โครงการส่วนพระองค์ หรือโครงการหลวง เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่โครงการได้ความ เป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น
2. เพื่อศึกษาประเมินศักยภาพน้ำบาดาลขั้นรายละเอียด และพัฒนาน้ำบาดาลให้แก่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริต่างๆ พร้อมจัดสร้างเครือข่ายติดตามเฝ้าระวัง สําหรับการบริหารจัดการแหล่งน้ำ บาดาลตามหลักวิชาการ โดยให้ผลการศึกษาเป็นต้นแบบสําหรับนําไปประยุกตฺ์ใช้ในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีสภาพ อุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน
3. ประโยชน์
1) ราษฎรในพื้นที่โครงการได้มีน้ำพื่อการอุโภค บริโภค และเพื่อการเกษตร อย่างพอเพียง มีแหล่งน้ำ สําหรับการเกษตรในฤดูแล้ง
2) ทําให้ทราบศักยภาพน้ำบาดาลของแอ่งน้ำบาดาล สําหรับการเกษตรและการอุปโภค-บริโภค ซึ่งเป็น ข้อมูลสําคัญในการวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของแต่ละโครงการ
3) มีการตรวจสอบและติดตามสภาพน้ำบาดาลที่อาจได้รับผลกระทบ ทั้งในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง เพื่อป้องกันวิกฤตการณ์น้ำบาดาล
4) เกษตรกรนอกโครงการสามารถนําผลที่ได้จาการศึกษา ไปออกแบบและก่อสร้างระบบการจ่ายน้ำเพื่อ การเกษตรกรรมในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีสภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน
4.งานที่ปฎิบัติ กิจกรรมหลัก และผลผลิต
ที่มาhttp://www.thainame.net/weblampang/arpakon/a10.html